Portfolio ที่ดี ควรมีอะไรบ้าง?

 

Portfolio ที่ดี ควรมีอะไรบ้าง?

1.หน้าปก

2.คำนำ (เหตุผลที่อยากเข้าคณะ/สาขานี้)

3.ประวัติส่วนตัว

4.ประวัติการศึกษา

5.กิจกรรมที่โดดเด่น

6.เกียรติบัตรรางวัล

7.ใบรับรองจากอาจารย์ ***มีก็ดี ไม่มีก็ได้

8.หน้าปิดท้าย

ภาพรวมรูปเล่ม

– จำนวนหน้าไม่ควรเกิน 10 หน้า (ไม่รวมหน้าปก) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด

– ใช้ขนาดตัวอักษรและฟอนต์ ที่อ่านง่าย และไม่หลากหลายรูปแบบจนเกินไป

– โทนสี หรือลวดลายที่เลือกใช้ควรเป็นธีมเดียวกันทั้งเล่ม 

แต่พี่เอิธมีทริคเล็กๆมาแนะนำนะคะ สำหรับน้องๆที่นึกโทนสีไม่ออก ลองไปศึกษาดูว่า มหาวิทยาลัย/คณะ/สาขา ที่น้องๆสนใจจะยื่นในรอบ Portfolio นี้ ใช้สีอะไรเป็นสีประจำ 

เราก็สามารถนำโทนสีนั้นมาใช้พร้อมกับใส่ความครีเอทของตัวเองเข้าไป แค่นี้เอง ง่ายมากๆเลยใช่มั้ยคะ>_<

***ยกเว้นในกรณีที่ยื่นเข้าคณะ/สาขาที่เน้นโชว์ความสร้างสรรค์ของ Portfolio สูงมากๆ เช่น ออกแบบแฟชั่น สถาปัตยกรรม น้องๆก็จะต้องใส่ความครีเอทีฟและนอกกรอบของตัวเองเข้าไปอีกนะคะ

ส่วนที่ 1 : หน้าปก

ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมาก ในการที่กรรมการจะตัดสินว่า เขาจะเปิดดูพอร์ตของเราหรือไม่

ไม่ว่าเนื้อหาภายในเล่มจะดีแค่ไหน แต่ถ้าหน้าปกไม่น่าสนใจ กรรมการเขาก็จะไม่ดึงดูดใจให้เปิดดูนะคะ ดังนั้นน้องๆ สามารถออกแบบโดยการใส่ความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวของตัวเองลงไป ได้อย่างเต็มที่เลย  แต่เนื้อหาที่ควรจะมีก็ต้องใส่ให้ครบถ้วนด้วยนะคะ

ตัวอย่างหน้าปกพอร์ต

– ควรออกแบบให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ ตรงกับธีมของคณะ/สาขาที่น้องๆได้เลือกมาเพื่อดึงดูดใจคณะกรรมการ

– รูปที่เลือกใช้ควรเป็นรูปที่สวมใส่ชุดนักเรียน และเห็นใบหน้าที่ชัดเจน 

– ใส่รายละเอียดให้ชัดเจนว่าจะสมัครมหาวิทยาลัยไหน คณะ และสาขาอะไร 

– ควรมีประวัติส่วนตัวของตัวเองเล็กน้อย เพื่อยืนยันตัวตน

  • ชื่อจริง – นามสกุล
  • ชื่อเล่น (มีหรือไม่มีก็ได้)
  • ชื่อโรงเรียน
  • ชื่อมหาวิทยาลัย/คณะ/สาขา ที่ยื่น

ส่วนที่ 2 : คำนำ

เป็นส่วนที่น้องๆจะต้องบอกถึงเหตุผลที่อยากเข้าศึกษาที่นี่ เพราะอะไร สิ่งไหนที่เป็นแรงบันดาลใจ
โดยมีจุดที่สำคัญคือ น้องๆจะต้องเขียนออกมาให้กรรมการอ่านแล้วรู้ว่า เราทำการบ้านมานะ
เช่น คณะ/สาขานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร น่าสนใจตรงไหน และเหมาะกับเรายังไง ซึ่งก็จะต้องใช้คำพูดในเชิงบวกด้วยนะคะ

คำนำใน portfolio เพื่อเกริ่นเหตุผล

– ไม่ควรมีจำนวนเกิน 1 หน้ากระดาษ A4

– บอกเล่าออกมาให้เห็นถึงความตั้งใจ ความมุ่งมั่น และความพยายาม รวมถึงทัศนคติที่ดีต่อคณะ/สาขาที่ยื่น

– เขียนออกมาเป็นรูปแบบเรียงความแบบย่อ ไม่ต้องยาวจนเกินไป ประโยคไหนอยากให้กรรมการสนใจเป็นพิเศษ สามารถเน้นย้ำได้

ประวัติส่วนตัวในส่วนที่ 3

ส่วนนี้เปรียบเสมือนการได้แนะนำตัวเองของน้องๆกับกรรมการ ดังนั้น ข้อมูลที่ใส่ลงไปควรตรวจเช็กให้ถูกต้องและครบถ้วนที่สุด โดยเฉพาะส่วนของข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อกลับไปนะคะ

กรอกประวัติส่วนตัวให้ครบถ้วนและถูกต้อง

– รูปที่เลือกใช้ควรเป็นรูปนักเรียน หรือรูปภาพที่เห็นหน้าตาชัดเจน

– ใส่ข้อมูลส่วนตัวพื้นฐาน ให้ครบถ้วน และควรเป็นข้อมูลที่ตรงตามบัตรประชาชน

– เพิ่มเติมในส่วนของงานอดิเรกเข้าไป เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวเองมากยิ่งขึ้น

– ควรใส่ข้อมูลความสามารถพิเศษ ซึ่งถ้าเกี่ยวข้องคณะ/สาขาที่ยื่น จะยิ่งส่งเสริมกันขึ้นไปอีก

– ข้อมูลครอบครัว ควรที่จะใส่เพื่อสำรองข้อมูล ในกรณีที่เกิดปัญหาแล้วติดต่อน้องๆไม่ได้

– ช่องทางการติดต่อ/ข้อมูลติดต่อ จะต้องเป็นข้อมูลที่อัพเดทล่าสุด หากเกิดอะไรขึ้นจะได้ติดต่อกลับได้อย่างถูกต้อง

ประวัติการศึกษาก็สำคัญใน Portfolio ส่วนที่ 4

ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่แสดงถึงผลการเรียนที่ผ่านมาของน้องๆว่า มีการพัฒนาขึ้นหรือลดลงอย่างไร และเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ด้วยว่า ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกหรือไม่ รวมถึงประวัติการเข้าศึกษาในโรงเรียนต่างๆอีกด้วย

ใส่ประวติการศึกษาลงพอร์ตโฟลิโอด้วย

– ชื่อโรงเรียนที่จบมา ในแต่ละระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย

– เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในแต่ละชั้นปี

รวบรวมกิจกรรมที่โดดเด่นของเราใส่ในส่วนที่ 5 

ส่วนนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน ที่น้องๆจะได้บอกเล่าถึงความสามารถพิเศษของตนเอง
ผ่านกิจกรรมที่ได้เข้าร่วมแข่งขัน ดังนั้น น้องๆจะต้องเลือกกิจกรรมที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับ
คณะ/สาขาที่จะยื่นด้วยนะคะ

พยายามใส่กิจกรรมที่เคยทำลงในพอร์ตด้วย

– คัดเลือกกิจกรรมที่โดดเด่น เข้ารอบ หรือได้รับรางวัล (โดยเรียงจากรางวัลใหญ่ เล็ก)
และเกี่ยวข้องกับคณะ/สาขา ที่ยื่น ส่วนกิจกรรมที่ไม่มีความเกี่ยวข้องควรตัดทิ้ง ไม่ควรใส่กิจกรรมเยอะจนเกินไป

– เลือกใช้รูปภาพที่เห็นตัวเองขณะทำกิจกรรมนั้นได้อย่างชัดเจน ภาพไม่ควรมีขนาดที่เล็กจนเกินไป (ควรใส่เครื่องหมายในรูปด้วยว่า เราคือคนไหนในรูปภาพนี้)

– อธิบายรายละเอียดของกิจกรรมให้กระชับ เข้าใจง่ายและเห็นภาพ รวมถึงรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันนี้ด้วย

ใส่เกียรติบัตรรางวัลที่เคยได้รับในส่วนที่ 6

เป็นส่วนที่จะแสดงผลงาน/รางวัล/เกียรติบัตรต่างๆ ของน้องๆที่รวบรวมตลอดการศึกษาที่ผ่านมา
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถพิเศษของน้องๆ และบ่งบอกว่าเป็นเด็กกิจกรรมอีกด้วย
ซึ่งผลงานที่เลือกมานั้นควรมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะ/สาขาที่จะยื่น หรือสามารถส่งเสริม
ภาพลักษณ์ ทัศนคติที่ดีให้กับน้องๆได้นะคะ

portfolio should have certificate announcement

– ผลงานควรเรียงจากรางวัลใหญ่ ไปรางวัลเล็ก เช่น การแข่งขันระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับภายในโรงเรียน

– ควรแสกนรูปภาพผลงาน แบบสี เพื่อความสวยงาม ชัดเจน ขนาดรูปภาพไม่ควรเล็กจนเกินไป
จะทำให้เห็นรายละเอียดได้ไม่ชัดเจน

– ต้องเขียนคำบรรยายใต้ภาพด้วยว่า เราเข้าร่วมกิจกรรมหรือการแข่งขันอะไร และได้รับรางวัลอะไรมาบ้างในทุกๆภาพให้กระชับที่สุด

ควรมีใบรับรองจากอาจารย์ในพอร์ตฟอลิโอ

เป็นส่วนที่ให้อาจารย์ประจำชั้น อาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์ที่สนิทของน้องๆ  มาเขียนบรรยายถึงพฤติกรรม บุคลิกภาพ นิสัย ผลการเรียนของน้องๆเมื่ออยู่ภายในโรงเรียน  ซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้แต่ถ้าทำก็จะช่วยยืนยันและส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับน้องๆมากขึ้นไปอีกค่ะ

ใบรับรองจากอาจารย์ใส่ใน portfolio มหาลัย

– ต้องให้อาจารย์เขียนบรรยายด้วยลายมือส่วนตัวเท่านั้น พร้อมลงลายเซ็นกำกับให้ชัดเจน

– ควรเป็นรูปภาพที่แสกนออกมาเพื่อความชัดเจน และไม่ควรใช้เอกสารฉบับจริง
เพราะน้องๆอาจจะต้องนำไปใช้ยื่นพอร์ตหลายที่ได้

หน้าปิดท้ายเพื่อทำให้ Portfolio มหาวิทยาลัย ของเราสมบูรณ์

เป็นส่วนที่ไม่มีก็ได้เช่นกัน แต่ถ้ามีก็จะทำให้พอร์ตฟอลิโอเล่มนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยที่น้องๆสามารถใส่คำว่า ขอบคุณค่ะ หรือ Thank you ปิดท้าย ก็จะช่วยให้ไม่จบแบบห้วนจนเกินไป
แต่พี่เบสขอแอบแนะนำนิดนึงนะคะว่า น้องๆสามารถใส่ คติประจำใจของน้องๆ เข้าไปอีกได้นะคะ
เพื่อการปิดจบที่สวยงามมากขึ้นไปอีกค่ะ

หน้าปิดท้ายพอร์ตมหาลัย





แหล่งที่มาhttps://www.smartmathpro.com/portfolio-for-university/

ความคิดเห็น